Article
Article คือ คำที่ใช้วางไว้ข้างหน้าคำนาม ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ดังนี้
Indefinite Article คือ a, an เป็น article ที่วางไว้ข้างหน้าคำนามเอกพจน์ทั่วไปที่ไม่ชี้เฉพาะเจาะจงว่าเป็นคนไหน อันไหน สิ่งไหน หรือ อันไหน
Definite Article คือ the เป็น article ที่วางไว้ข้าหน้าคำนามที่ชี้เฉพาะเจาะจง
การใช้ Indefinite Article (a, an)
a และ an มีความหมายว่า “หนึ่ง” ใช้นำหน้าคำนามนับได้รูปเอกพจน์เท่านั้น โดยมีหลักการใช้ ดังนี้
1. ใช้ a นำหน้าคำนามเอกพจน์ที่ขึ้นต้นด้วยเสียงพยัญชนะและออกเสียงพยัญชนะ เช่น a dog, a school, a van, a boy, a girl เป็นต้น
หมายเหตุ
ถ้าเป็นคำนามเอกพจน์ที่ขึ้นต้นด้วยสระแต่ออกเสียงเป็นพยัญชนะ (มักออกเสียงเสียงพยัญชนะ) ให้ใช้ a นำ เช่น a European, a university, a useful book เป็นต้น
2. ใช้ an นำหน้าคำนามเอกพจน์ที่ขึ้นต้นด้วยสระและออกเสียงเป็นสระ เช่น an ant, an umbrella, an apple, an egg, an elephant เป็นต้น
หมายเหตุ
ถ้าเป็นคำนามที่ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ แต่ออกเสียงเป็นสระให้ใช้ an เช่น an hour เป็นต้น ส่วนมากจะเป็นคำนามที่ขึ้นต้นด้วย h ซึ่ง h ที่ไม่ออกเสียง แต่จะออกเสียงสระที่ตามมา
การใช้ Definite Article “the”
“the” เป็น Definite Article ที่มีอยู่เพียงตัวเดียว ใช้วางหน้าคำนามเพื่อแสดงการชี้เฉพาะเจาะจง เพื่อให้สามารถทราบได้ว่าคนไหน หรือสิ่งไหน ไม่ว่าจำนวนนั้นจะนับได้หรือนับไม่ได้ก็ตาม
สำหรับ the สามารถออกเสียงได้ทั้ง “ เดอะ” และ “ ดิ” ซึ่งจะมีหลักการสังเกตดังนี้
ออกเสียง “ เดอะ” เมื่อนำหน้าคำนามที่ออกเสียงพยางค์แรกเป็นเสียงพยัญชนะ
ออกเสียง “ ดิ” เมื่อนำหน้าคำนามที่ออกเสียงพยางค์แรกเป็นเสียงสระ
หลักการใช้ the
1. ใช้กับคำนามที่มีสิ่งเดียวในโลก เช่น the sun, the moon, the earth เป็นต้น
2. ใช้กับนามที่ผู้พูดและผู้ฟังต่างเข้าใจว่าเป็นสิ่งเดียวกันในขณะนั้น เช่น Put this book on the table, open the window.
3. ใช้กับคำนามที่ถูกกล่าวถึงครั้งเป็นครั้งที่สอง
4. ใช้นำหน้า adjective หรือ adverb ในการเปรียบเทียบขั้นสูงสุด
5. ใช้นำหน้าเครื่องดนตรีที่ใช้ตามหลังคำกริยา play
6. ใช้นำหน้าคำนามที่มีข้อความขยายที่บอกลักษณะเฉพาะ
7. ใช้นำหน้าตำแหน่งหรือชื่อครอบครัว
8. ใช้นำหน้าชื่อมหาสมุทรหรือ ทะเลหรือหมู่เกาะ
9. ใช้นำหน้าชื่อประเทศที่ขึ้นต้นด้วย Kingdom
10. ใช้กับชื่อโรงแรม ธนาคาร และโรงภาพยนตร์
11. ใช้กับช่วงเวลา
เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น